เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
5.อาปัตติภยวรรค 3.สิกขานิสังสสูตร

อีกอย่างหนึ่ง อาทิพรหมจริยกสิกขา1เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความ
สิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการ อาทิพรหมจริยกสิกขาเราบัญญัติแล้วแก่สาวก
ทั้งหลายเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการโดยวิธีใดๆ สาวกนั้นไม่ทำ
สิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลายโดยวิธีนั้น ๆ พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์ เป็นอย่างนี้แล
พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอด เป็นอย่างไร
คือ ธรรมทั้งหลาย2เราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้เพื่อความสิ้น
ไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการ ธรรมทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลายเพื่อ
ความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการโดยวิธีใด ๆ ธรรมทั้งหลายนั้นสาวกพิจารณา
ด้วยปัญญาโดยวิธีนั้น ๆ พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอด เป็นอย่างนี้แล
พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่น เป็นอย่างไร
คือ ธรรมทั้งหลายเราแสดงแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้เพื่อความสิ้นไปแห่ง
ทุกข์โดยชอบทุกประการ ธรรมทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความ
สิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการโดยวิธีใด ๆ ธรรมทั้งหลายนั้นเป็นธรรมอันวิมุตติ
ถูกต้องแล้วโดยวิธีนั้น ๆ พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่น เป็นอย่างนี้แล
พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตย เป็นอย่างไร
คือ สติภิกษุตั้งไว้ดีภายในว่า ‘เราจักบำเพ็ญอภิสมาจาริกสิกขาที่ยังไม่บริบูรณ์
ให้บริบูรณ์ หรือจักอนุเคราะห์อภิสมาจาริกสิกขาที่บริบูรณ์แล้วด้วยปัญญาในฐานะ
นั้น ๆ’ บ้าง สติที่ภิกษุตั้งไว้ดีภายในว่า ‘เราจักบำเพ็ญอาทิพรหมจริยกสิกขาที่ยัง
ไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือจักอนุเคราะห์อาทิพรหมจริยกสิกขาที่บริบูรณ์แล้วด้วย
ปัญญาในฐานะนั้น ๆ’ บ้าง สติที่ภิกษุตั้งไว้ดีภายในว่า ‘เราจักพิจารณาธรรมที่เรา


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
5.อาปัตติภยวรรค 4. เสยยาสูตร

ไม่ได้พิจารณาด้วยปัญญา หรือจักอนุเคราะห์ธรรมที่เราพิจารณาแล้วด้วยปัญญาใน
ฐานะนั้น ๆ’ บ้าง สติที่ภิกษุตั้งไว้ดีภายในว่า ‘เราจักถูกต้องธรรมที่เราไม่ได้ถูกต้อง
ด้วยวิมุตติ หรือจักอนุเคราะห์ธรรมที่เราถูกต้องแล้วด้วยปัญญาในฐานะนั้น ๆ’ บ้าง
พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตย เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า ‘เราประพฤติพรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์
มีปัญญาเป็นยอด มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตย‘ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้

สิกขานิสังสสูตรที่ 3 จบ

4. เสยยาสูตร
ว่าด้วยการนอน

[246] ภิกษุทั้งหลาย การนอน 4 ประการนี้
การนอน 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. นอนอย่างคนตาย1 2. นอนอย่างคนบริโภคกาม
3. นอนอย่างราชสีห์ 4. นอนอย่างตถาคต

นอนอย่างคนตาย เป็นอย่างไร
คือ ส่วนมากคนตายนอนหงาย นี้เรียกว่า นอนอย่างคนตาย
นอนอย่างคนบริโภคกาม เป็นอย่างไร
คือ ส่วนมากคนบริโภคกามย่อมนอนตะแคงซ้าย นี้เรียกว่า นอนอย่างคน
บริโภคกาม
นอนอย่างราชสีห์ เป็นอย่างไร
คือ พญาราชสีห์ย่อมสำเร็จการนอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า สอดหาง
เข้าในระหว่างโคนขา มันตื่นขึ้นยืดกายส่วนหน้าแล้วเหลียวดูกายส่วนหลัง ถ้ามัน
เห็นกายผิดแปลกหรือไม่ปกติอย่างไรไป มันย่อมเสียใจด้วยเหตุนั้น แต่ถ้าไม่เห็น
อะไรผิดปกติ มันย่อมดีใจ นี้เรียกว่า นอนอย่างราชสีห์